ทำความเข้าใจ หูด เกิดจากสาเหตุอะไร?

Last updated: 23 เม.ย 2567  |  44477 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หูด เกิดจากสาเหตุอะไร

      โรคที่เกิดบนผิวหนังบางอย่างอาจจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักแต่ก็ส่งผลในเรื่องของความเชื่อมั่น หรือหากปล่อยไว้ก็อาจลุกลามจนยากแก่การรักษา หนึ่งในนั้นก็คือโรคหูด ที่เพียงได้ยินชื่อก็คงไม่มีใครอยากจะเป็น เรามาดูกันว่า หูด เกิดจากสาเหตุอะไร และการรักษาหูดแบบต่างๆ เช่น จี้หูด, ผ่าตัดหูด นั้นเหมาะกับใครบ้าง

 

หูด เกิดจากอะไร?

      โรคหูด (Warts) จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อประเภทหนึ่งทางผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ที่จะไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาและแข็งตัว ทำให้ผิวหนังเกิดเป็นตุ่มหรือติ่งเนื้อขึ้น  สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยที่บางคนอาจจะไม่แสดงอาการ โรคนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในส่วนที่อับชื้นของร่างกาย ติดต่อได้จากการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย แม้จะไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่ก็อาจส่งผลต่อความมั่นใจและอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ตามมาด้วย

หูด

 

หูดมีกี่ชนิด?

       โรคหูดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ หูดที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง เช่น หูดที่ผิวหนัง ฝ่ามือ และฝ่าเท้า กับหูดบริเวณเยื่อบุผิวหนังเป็นหูดที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือที่เรียกว่า หูดหงอนไก่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิงด้วย กรณีนี้ถือว่าอันตรายและต้องได้รับการรักษาหูดอย่างถูกต้อง หากปล่อยไว้อาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

 

บริเวิณที่เกิดหูด

 

อาการของโรคหูด

      ลักษณะอาการของหูดที่พบบ่อยคือ มีติ่งนูนยื่นขึ้นมาบนผิวหนัง ขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตร สามารถเกิดได้ทั้งแบบผิวเรียบ สีเดียวกับผิวหนัง หรือแบบขรุขระสีดำ อาจเกิดเป็นเม็ดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ลำคอ ส่วนหูดที่อวัยวะเพศหรือหูดหงอนไก่สามารถพบได้ที่อวัยวะเพศ ขาหนีบ หรือทวารหนัก ซึ่งหากเป็นก้อนใหญ่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้

 

การรักษาหูด

      ในส่วนของการกำจัดหูดนั้นสามารถทำได้หลายแบบตามชนิดของโรคและความต้องการของผู้ป่วยเอง อาทิ การทายา การจี้หูด การผ่าตัดหูด การจี้ไฟฟ้า  เรามาดูรายละเอียดของการรักษาหูดแต่ละแบบกันเลย

การรักษาหูด

1. การทายา

       โดยทั่วไปแล้ว 65% ของผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โรคนี้ จะหายไปได้เอง หรือคนที่เป็นหูดไม่มาก อาจจะเลือกใช้วิธี หายาทาแก้หูดมารักษาเองก่อนเบื้องต้น การทายาบริเวณผิวหนังที่เป็นหูด เหมาะสำหรับเด็กจะทำให้ไม่เจ็บปวด แต่การรักษาด้วยการทายาจะต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรือนานกว่านั้น โดยควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาไม่ควรทายาเอง

 

2. การจี้หูดด้วยไนโตรเจนเหลว

        การกำจัดหูดด้วยวิธีนี้เป็นการใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลวจี้หูด เป็นวิธีที่สามารถรักษาหูดได้แต่อาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อจะกำจัดหูดออกไป เหมาะกับการรักษาผู้ป่วยที่เป็นหูดบริเวณนิ้วมือ โดยระหว่างรักษาอาจมีความรู้สึกแสบคันบริเวณที่จี้หูด หรือมีแผลตุ่มน้ำน้ำมาแต่ก็จะสามารถหายได้เอง

 

3. การจี้หูดด้วยไฟฟ้า

       วิธีต่อมาคือการจี้หูดด้วยไฟฟ้าหรือจี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Laser ablation) ก่อนที่จะทำการคีบรากหูดออกไป ข้อดีคือใช้เวลาในการรักษาเพียงครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้ง แต่อย่างไรก็ตามอาจส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นขึ้นได้ จึงควรทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

 

4. การผ่าตัด

       หากการจี้หูดด้วยไฟฟ้าหรือไนโตรเจนเหลวไม่สามารถรักษาหูดที่เป็นได้ ก็จำเป็นที่จะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อกำจัดหูดออกไป โดยควรเลือกทำกับแพทย์เฉพาะทางและสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยและได้ผล

       อย่างที่บอกเอาไว้ในตอนต้นว่าหูดอาจไม่ใช่โรคร้ายแรงมากแต่ก็ไม่ควรที่จะปล่อยไว้ เพราะอาจส่งผลเสียอื่นตามมาทั้งเรื่องของความมั่นใจและโรคที่เกี่ยวเนื่องกัน ส่วนจะรักษาหูดด้วยวิธีการจี้หูด ทายา หรือผ่าตัดหูด นั้นแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยตามความเหมาะสม สำหรับท่านที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเข้ารับการตรวจเบื้องต้นได้ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมทุกสาขาใกล้บ้าน โดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉันใน Google หรือสอบถามจากช่องทางการติดต่อในเว็บไซต์ของเราได้เลยค่ะ

 

จี้หูด ฉีดคีลอยด์ ตัดติ่งเนื้อ


 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
     สนใจทักแชท   
  @qns9056c
  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้