คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฉีดยาคุม

Last updated: 23 เม.ย 2567  |  16767 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฉีดยาคุม

เพราะการป้องกันการตั้งครรภ์สามารถทำได้หลายวิธี การจะเลือกใช้วิธีการใดจึงต้องศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับตนเองและเกิดประสิทธิภาพในการป้องกันสูงที่สุด

สำหรับคนที่ต้องการฉีดยาคุมกำเนิด แต่ยังมีข้อสงสัยต่างๆ ที่สร้างความกังวลใจเราได้รวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฉีดยาคุมมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

คำถามที่เกี่ยวกับการฉีดยาคุมกำเนิด

  1. ยาคุมแบบฉีดมีกี่แบบ

  2. หากฉีดยาคุมกำเนิดแล้วสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลยไหม

  3. ฉีดยาคุมตอนไหนดี 

  4. มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง 

  5. ยาคุมแบบฉีดต่างจากยาคุมแบบกิน อย่างไร

  6. ฉีดยาคุมแบบ 3 เดือนแล้วประจำเดือนมาไม่หยุด ทำอย่างไร

ยาคุมแบบฉีดมีกี่แบบ

ยาคุมแบบฉีดมี 2 แบบ คือ

  • ยาคุมฉีดแบบ 1 เดือน (ฮอร์โมนรวม) ส่วนใหญ่จะฉีดเข้าที่บริเวณต้นแขน สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้เพียง 1 เดือน ต่อการฉีด 1 เข็ม และไม่เหมาะกับผู้ที่กำลังให้นมบุตร

  • ยาคุมฉีดแบบ 3 เดือน (ฮอร์โมนเดี่ยว) จะฉีดเข้าที่สะโพกสามารถคุมกำเนิด ได้นาน 3 เดือน ต่อการฉีด 1 เข็ม โดยไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนม แต่มักจะมีผลข้างเคียงคือ มีเลือดออกกะปริบกะปรอย แต่จะค่อยๆ ลดอาการลงในที่สุด

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ : ฉีดยาคุมกำเนิดแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน เลือกแบบไหนดี

ฉีดยาคุมกำเนิด คลิกที่นี่


หากฉีดยาคุมกำเนิดแล้วสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลยไหม 

หากฉีดยาคุมกำเนิดในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน และต้องการมีเพศสัมพันธ์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีการอื่นร่วมด้วย แต่หากฉีดยาคุมในช่วงเวลาอื่น และต้องการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 7 วันแรกของการฉีดยาคุม

ควรป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการอื่น เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เพื่อให้ยาคุมแบบฉีดออกฤทธิ์เต็มประสิทธิภาพเสียก่อน


ฉีดยาคุมตอนไหนดี 

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดยาคุมกำเนิด คือ ช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน แต่หากมีความจำเป็นต้องฉีดนอกเหนือจากช่วงเวลาดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์และตรวจดูก่อนว่าอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือไม่

ฉีดยาคุมกำเนิด คลิกที่นี่


มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง 

ผลข้างเคียงของการฉีดยาคุมกำเนิด จะคล้ายกับการกินยาคุม คือ มักจะมีอาการ เจ็บคัด ตึงเต้านม ประจำเดือนมาไม่ปกติ เลือดออกกะปริบกะปรอย บางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย

อ่านเพิ่มเติม : ผลข้างเคียงจากการฉีดยาคุมกำเนิด


ยาคุมแบบฉีดต่างจากยาคุมแบบกินอย่างไร 

หากวัดกันเรื่องประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด ยาคุมทั้งสองชนิด จัดว่าเป็นการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงเช่นเดียวกัน

สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ฉีดยาคุมกำเนิด มีให้เลือกทั้ง ยาคุมฉีดแบบ 1 เดือน และยาคุมฉีดแบบ 3 เดือน ซึ่งยาคุมแบบกินจะป้องกันการตั้งครรภ์ 1 แผง ต่อ 1 เดือนเท่านั้น และจะต้องกินยาคุมทุกวัน หากลืม ก็มีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นได้


ข้อแตกต่างระหว่าง
ฉีดยาคุมกับกินยาคุมกำเนิด



ฉีดยาคุมแบบ 3 เดือนแล้วประจำเดือนมาไม่หยุด ทำอย่างไร

ฉีดยาคุมแบบ 3 เดือนแล้วประจำเดือนมาไม่หยุด หากมาไม่เยอะมากจนรำคาญใจก็แนะนำให้สังเกตุอาการก่อน แนะนำฉีดเข็มถัดไป 2-3 เข็ม อาการเรื่องประจำเดือนจะดีขึ้น แต่หากฉีดยาคุมไปแล้วอาการไม่ดีขึ้นสามารถเข้ามาพบหมอเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องกินยาปรับฮอร์โมนได้ 

แพทย์ไม่แนะนำให้กินยาเลื่อนประจำเดือน เพราะเป็นฮอร์โมนกลุ่มเดียวกันกับยาคุมแบบฉีดจะยิ่งเพิ่มผลข้างเคียงได้ค่ะ

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

ผ่านไปแล้วกับคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฉีดยาคุมที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต่างก็สงสัย หวังว่าคำตอบที่ได้จะเป็นข้อมูลให้คุณได้นำไปพิจารณากันในเบื้องต้น ซึ่งหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิด สามารถใช้บริการได้ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมทุกสาขาใกล้บ้าน โดยค้นหาจากคลินิกใกล้ฉันใน Google หรือ Walk-In เข้าพบกับคุณหมอของเราได้เลยค่ะ


คำถามที่พบบ่อย ฉีดยาคุมกำเนิด


บทความที่เกี่ยวข้อง


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
   Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  
  @qns9056c
  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้