ริดสีดวงทวารคืออะไร

ริดสีดวงทวารคืออะไร

ริดสีดวงทวาร คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพอง (ขอด) เป็นหัว ซึ่งอาจมีได้หลายหัวและเป็นพร้อมกันได้หลายแห่ง พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยหลายคนมักเก็บเป็นเรื่องส่วนตัวเนื่องจากอายที่จะมาพบแพทย์ จนปล่อยไว้จนอาการรุนแรงขึ้นถึงมาพบแพทย์

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์


ริดสีดวงทวารหนัก 2 ชนิด

ริดสีดวงทวารชนิดภายใน

คือกลุ่มหลอดเลือดดำ ที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุลำไส้ภายในรูทวารหนักปูดพอง (ขอด) ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อใช้กล้องส่องตรวจ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

  1. มีเลือดสด ๆ ไหลออกมาหลังจากอุจจาระ ไม่มีติ่งเนื้อยื่น เห็นหัวริดสีดวงได้โดยการส่องกล้องเท่านั้น

  2. หัวริดสีดวงโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ หัวริดสีดวงจะหดกลับเข้าเองหลังถ่ายอุจจจาระเสร็จ มีอาการคันและมีมูกบริเวณปากทวารหนัก

  3. หัวริดสีดวงโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระไอ จาม ยกของหนักหรือออกกำลังกายไม่หดกลับเอง ต้องใช้นิ้วมือดันกลับ

  4. หัวริดสีดวงโผล่ออกมาตลอดเวลา ไม่สามารถดันกลับได้เอง ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก อาจเกิดการอักเสบ หรือมีแผลเมื่อเสียดสีกับเสื้อผ้า


ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก

ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก คือ กลุ่มหลอดเลือดดำที่ อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณปากทวารหนัก ปูดพอง (ขอด) ซึ่งสามารถมองเห็นและคลำได้เพราะผิวหนังรอบๆ ทวารจะถูกดันจนโป่งออกมา ผู้ป่วยจึงรู้สึกเจ็บปวด 


สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร

สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร

  1. ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยๆ  

  2. มีนิสัยเบ่งถ่ายอุจจาระเพื่อพยายามขับอุจจาระออก 

  3. มีนิสัยใช้เวลานั่งถ่ายอุจจาระนาน

  4. ตั้งครรภ์ ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่สะดวก

  5. ภาวะโรคตับแข็ง ทำให้เลือดดำไหลเข้าตับไม่ได้จึงเกิดเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง

  6. อายุมาก

  7. ไอเรื้อรัง

  8. น้ำหนักมาก


การป้องกันและดูแลตัวเองเมื่อเป็นริดสีดวง

  • รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น รำข้าว ช้าวซ้อมมือ งาดำ ผัก และผลไม้ทุกชนิด

  • ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว การดื่มน้ำแก้วใหญ่ทันที หลังตื่นนอนตอนเช้า จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารรสจัด อาหารที่ไม่สุกสะอาด

  • หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

  • หลีกเลี่ยงการกลั้นหรือเบ่งถ่ายอุจจาระ และควรฝึกหัดการขับถ่ายให้เป็นเวลา 

  • ทำความสะอาดทวารหนักภายหลังการขับถ่ายด้วยน้ำ เพื่อความสะอาดและลดการระคายเคือง

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายอย่างรุนแรงหรือการสวน 

  • ถ่ายอุจจาระเป็นประจำจนเป็นนิสัย

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะทำให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น

  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ

  • หลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้สบายอยู่เสมอ



คำถามที่พบบ่อย

 

ก้อนริดสีดวง กี่วันยุบ

ก้อนริดสีดวงมักจะใช้เวลาในการยุบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการดูแลรักษา หากเป็นริดสีดวงภายนอก ที่เกิดการอักเสบหรือมีก้อนเลือดคลั่ง (thrombosed hemorrhoids) อาการมักจะดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากไม่ได้รับการดูแลหรือมีปัจจัยกระตุ้น เช่น ท้องผูกหรือการเบ่งบ่อย อาจทำให้อาการยืดเยื้อได้

ในกรณีของ ริดสีดวงภายใน อาจมองไม่เห็นก้อนชัดเจน แต่ถ้ามีการย้อยหรือหลุดออกมา (prolapsed) แล้วกลับเข้าไปเองไม่ได้ การรักษาเพิ่มเติม เช่น การใช้ยาหรือการผ่าตัด อาจจำเป็น


ติ่งเนื้อที่ทวาร ยุบเองได้ไหม

ติ่งเนื้อที่ทวาร หรือที่เรียกว่า skin tags มักเกิดจากริดสีดวงที่หายแล้วหรือการระคายเคืองบริเวณทวารหนัก ติ่งเนื้อเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถยุบเองได้ เนื่องจากเป็นเนื้อเยื่อส่วนเกินที่เกิดขึ้นถาวร 

ถ้าติ่งเนื้อไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรืออาการใด ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากรบกวนการใช้ชีวิต เช่น รู้สึกระคายเคืองหรือมีปัญหาด้านความมั่นใจ การผ่าตัดเล็กเพื่อเอาออกอาจเป็นทางเลือก


ริดสีดวงถ้าปล่อยไว้นานอันตรายไหม

ริดสีดวงถ้าปล่อยไว้นานอันตรายไหม

โรคริดสีดวงที่ปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาอาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ

  • เลือดออกเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

  • การอักเสบหรือติดเชื้อ อาจทำให้เกิดฝีหรือการบวมเจ็บบริเวณทวารหนัก

  • ริดสีดวงยื่นออกมาตลอดเวลา ในระยะที่ 4 ริดสีดวงจะมีขนาดใหญ่และยื่นออกมาแบบถาวร ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้เอง อาจต้องการการผ่าตัดรักษา

รับบริการที่อินทัชเมดิแคร์คลินิก

ดังนั้น หากมีอาการริดสีดวงที่รบกวนการใช้ชีวิต ควรพบแพทย์เพื่อตรวจและรับคำแนะนำในการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การใช้ยา การรัดยาง หรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงค่ะ


บทความที่น่าสนใจ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

สนใจทักแชท

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม


เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
  แก้ไขล่าสุด : 22/01/2025
  อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com

counter widget
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้