HIV กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงติดเอดส์

HIV กับ เอดส์

HIV กับ เอดส์ หรือ AIDS เป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิดว่า คิดว่าทั้งสองคือโรคเดียวกัน เนื่องจากเป็นเชื้อเริ่มต้นที่จะพาไปสู่การเป็นโรคเอดส์ ซึ่งความจริงแล้วตัวเชื้อ HIV เป็นเพียงแค่โรคที่ทำให้ ภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอเท่านั้น หากมีการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้แบบปกติ ส่วนโรคเอดส์ จะทำให้มีระดับภูมิต้านทานต่ำลงมาก ทำให้ร่างกายได้รับโรคแทรกซ้อนได้ง่าย มีลักษณะรอยโรคบางอย่างที่จำเพาะ อย่างมะเร็งบางชนิด หรือการติดเชื้อที่รุนแรงบางตัวที่เป็นเอกลักษณ์ 

หากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยง แนะนำให้ตรวจคัดกรองเอชไอวี ได้ที่คลินิกเวชกรรมใกล้บ้าน ตรวจกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ 
ในราคาสบายกระเป๋า การจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างของคุณเป็นความลับ สามารถรับบริการ ยาเป๊ป pep ยาต้านฉุกเฉิน  และตรวจ HIV ด้วยชุดตรวจที่ได้มาตรฐาน รู้ผลเร็ว ดูสาธิตการใช้ชุดตรวจได้เลยค่ะ Strip Anti HIV แบบ One Step Test 


HIV คืออะไร

HIV เป็นไวรัสที่ทำการโจมตีร่างกายเราและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หลังจากเชื้อ HIVสามารถเข้าสู่ร่างกายได้แล้ว มันจะมีเป้าหมายในการบุกทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4+ ที่มีความสำคัญต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เชื้อ HIV ก็จะกลายเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ต่อมา ซึ่งใช่ระยะเวลานานมากกว่าจะกลายมาเป็นโรค เอดส์


 

การติดเชื้อ HIV เกิดจากอะไร

การติดเชื้อ HIV เกิดจากสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ที่มีเชื้อ HIV ได้เข้าสู่กระแสเลือดของอีกคนหนึ่งเท่านั้น สารคัดหลั่งจากร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด และน้ำนมแม่


คลิกอ่านเพิ่มเติม จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณได้รับเชื้อ HIV

AIDS ย่อมาจากอะไร

AIDS ย่อมาจากอะไร

AIDS ย่อมาจาก  Acquired Immunodeficiency Syndrome (แอคไควร์ อิมมูน เดฟฟิเชียนซี ซิน โดรม) หรือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

  • Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในภายหลังมิได้เป็นมาแต่กำเนิด หรือสืบสายเลือดทางพันธุกรรม

  • Immuno หมายถึง เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

  • Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อมหรือการขาด

  • Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการหลาย ๆ อย่าง ไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง


โรคเอดส์ สรุปแล้วคืออะไร

โรคเอดส์ คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายลงอย่างรุนแรง เป็นผลมาจากการติดเชื้อ HIV เมื่อการติดเชื้อ HIV ไม่ได้รับการรักษาหรือมีการจัดการที่ไม่ดี เชื้อสามารถพัฒนาไปสู่โรคเอดส์ได้  ผู้ที่เป็นโรคเอดส์มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงอย่างมาก และมีความอ่อนไหวต่อการติดโรคฉวยโอกาสและมะเร็งได้หลายชนิด แถมการรักษายังเป็นเรื่องที่ยากกว่าปกติ นอกจากนี้เมื่อหายดีแล้วก็มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้


ติดเชื้อ HIV กี่ปีถึงออกอาการ

ติดเชื้อ HIV กี่ปีถึงออกอาการ

เมื่อได้รับเชื้อ HIV แล้วในระยะแรกจะยังไม่มีอาการ โดยทั่วไปผู้ติดเชื้อ HIV จะเกิดอาการป่วยภายใน 8 - 10 ปี (สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย) โดยที่เชื้อไวรัสเอดส์สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-Lympho-cyte เพราะมีลักษณะพิเศษจากไวรัสอื่น คือเชื้อจะอยู่ในร่างกายได้ตลอดไป รอดพันจากการถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสามารถกระตุ้นเซลล์บางชนิดของร่างกายได้ เช่น เกิดมะเร็งได้

แต่ในบางกรณี ผู้ที่ติดเชื้อ HIV อาจรู้สึกไม่สบาย มีอาการปวดเมื่อย มีอาการคล้ายเป็นหวัด มีไข้ อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง รวมทั้งตอนกลางคืนมีเหงื่อออกขณะนอนหลับ

ซึ่งผู้ติดเชื้อเอดส์ จะมีอาการแสดงออกตามระยะของการติดเชื้อโรคเอดส์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

  • ระยะที่ 1  Asymptomatic HIV Infection ระยะไม่ปรากฏอาการ

  • ระยะที่ 2  ARC-AIDS Related Complexes อาการสัมพันธ์กับเอดส์

  • ระยะที่ 3  AIDS อาการเอดส์เต็มขั้น


 

ตรวจเอชไอวี

บริการของคลินิกที่แนะนำ

 ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมสัมพันธ์ (LoveLove)

ยาเพร็พ PrEP ป้องกันเอชไอวี HIV

ยาเป๊ป pep ยาต้านฉุกเฉิน ป้องกัน HIV

มีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV กับ เอดส์ ทำอย่างไร

หากคุณพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่อาจจะติดเชื้อ HIV กับ เอดส์ ( AIDS) ควรหมั่นไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลใกล้เคียงเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และคนรอบข้าง ที่สำคัญเมื่อรู้ตัวเร็ว เราจะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะการติดเชื้อ HIV สามารถรักษาได้ และการรับยาเพร็พ PrEP ป้องกันเอชไอวี HIV  มาทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคเอดส์


พฤติกรรมที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV

พฤติกรรมที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV

  • การจามหรือการไอ

  • การจูบ การกอด หรือร้องไห้ 

  • การถูกยุงกัด หรือโดนแมลงต่อย

  • การบริจาคเลือด

  • พื้นผิวหรือวัตถุต่างๆ เพราะเชื้อไม่สามารถอยู่นอกร่างกายได้นาน

  • การใช้ห้องอาบน้ำ ห้องส้วม ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV

  • การนอนร่วมเตียงเดียวกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • การทานอาหารร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV

  • ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน โดยไม่ป้องกัน มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการติดเชื้อ HIV และเป็นโรคเอดส์

  • การใช้เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์ฉีดอื่นๆ ร่วมกัน ที่อาจมีการปนเปื้อนของเลือดสามารถติดเชื้อได้

  • เด็กสามารถติดเชื้อ HIV ได้จากการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตร หรือการให้นมบุตร หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เด็กที่ติดเชื้อ HIV จะเป็นโรคเอดส์และเสียชีวิตก่อนอายุห้าขวบ

  • การเจาะ และการสัก ตามร่างกายที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างถูกต้อง

ตรวจ HIV โดยแพทย์

การติดเชื้อสามารถรักษาได้ หากคุณรู้ทันอาการเบื้องต้น และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้ตามปกติทั่วไป สามารถมีครอบครัวได้ มีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ต้องมีการป้องกัน เพื่อป้องกันร่างกายไม่ให้ได้รับเชื้ออื่นๆ เข้ามา เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้มีเชื้้อมีความบกพร่อง อาจจะเกิดการเจ็บป่วยทรุดลงหนักได้

ดังนั้น จึงขอแนะนำให้หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี และผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีความกังวลว่าจะติดเชื้อ HIV อย่าลืมตรวจเลือดที่คลินิกใกล้ฉันหรือสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ และตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ

สนใจเข้ารับบริการ


 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

  Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

  @qns9056c

  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงอรอุมา เพียรผล

  แก้ไขล่าสุด : 05/04/2023

website counter widget

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้