จีพีโอ-เอ-ฟู (โอเซลทามิเวียร์)
ราคาครั้งละ 1,250 (ไม่รวมค่าแพทย์ แล็ป และอื่นๆ)
จีพีโอ-เอ-ฟลู (30 มิลลิกรัม) ผงยาสีขาว บรรจุในแคปซูลเบอร์ 4 สีส้ม ฝาแคปซูลมีตัวอักษร "OSEL" ตัวแคปซูลมีตัวเลข "30"
จีพีโอ-เอ-ฟลู (45 มิลลิกรัม) ผงยาสีขาว บรรจุในแคปซูลเบอร์ 4 สีเขียว ฝาเเคปซูลมีตัวอักษร "OSEL" ตัวแคปซูลมีตัวเลข "45"
จีพีโอ-เอ-ฟลู (75 มิลลิกรัม) ผงยาสีขาว บรรจุในแคปซูลเบอร์ 2 ตัวแคปซูลสีครีม ฝาครอบสีเหลือง
จีพีโอ-เอ-ฟลู ใช้รักษาและป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทั้งชนิด เอ หรือ บี ในผู้ใหญ่และวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 13 ปี ขึ้นไป องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ในการรักษาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชำแหละสัตว์ปีก ซึ่งสงสัยว่าอาจติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ จากสัตว์ปีก (H5N1) ในทางเดินหายใจ
หมายเหตุ :
ควรเริ่มรักษาด้วยยาภายใน 2 วันที่มีอาการโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับผู้ใหญ่ที่มีค่าอัตราการขับ Creatinine ออกจากร่างกาย (Creatinine clearance) 10-30 มิลลิลิตร/นาที ให้รับประทานครั้งละ 75 มิลลิกรัม 5 วัน
กลไกการออกฤทธิ์ : ไอเซลทามิเวียร์เป็นยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นสารยับยั้งที่แรงและจำพาะต่อเอนไซม์ Neuraminidase ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอนไซม์นี้มีความสำคัญในการแบ่งตัวของไวรัสโคยทำหน้าที่ตัด Sialic Acid ออกจาก Glycoconjugate ทำให้ไวรัสถูกปล่อยจากเซลที่ติดเชื้อ ป้องกันการรวมกลุ่มของไวรัสภายหลังถูกปล่อยจาก Host cell และอาจลดคุณสมบัติการทำให้ไวรัสอ่อนแรงของสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ เมื่อทดลอง In vitro โอเซลทามิเวียร์ออกฤทธิ์แรงในการต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด เอ และ บี และยานี้ออกฤทธิ์ด้านเชื้อไวรัสไช้หวัดใหญ่ชนิด เอ จากสัตว์ปีกบางสายพันธุ์ (รวมทั้งสายพันธุ์ H5N1 H7N2 และ H9N2) เมื่อทดลอง In vitro และ In vivo นอกจากนี้เมื่อทดลอง In vitro ไอเซลทามิเวียร์ยังออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสไช้หวัดใหญ่ชนิด เอ จากสัตว์ปีก (สายพันธ์ H5N1) ซึ่งแยกได้จากผู้ป่วยในประเทศเวียดนามและประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2547
เภสัชจลนศาสตร์ : โอเซลทามิเวียร์ถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วจากทางเดินอาหารเมื่อรับประทานในรูปของโอเซลทามิเวียร์ ฟอสเฟต และถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสารเมตาบอไลท์ที่มีฤทธิ์โดยเอนไซม์ Esterases ในตับ อย่างน้อย 75% ของยาที่รับประทานจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเเสเลือดในรูปสารเมตาบอไลท์ที่มีฤทธิ์ ระดับสารเมตาบอไลท์ที่มีฤทธิ์ในเลือดจะสูงสุดหลังรับประทานภายใน 2-3 ชั่วโมง มีปรึมาตรการกระจายตัวเฉลี่ยประมาณ 23 ลิตรในคน จับกับโปรตีนในพลาสมาประมาณ 3% มีค่าครึ่งชีวิต 6-10 ชั่วโมง และมากกว่า 99% ถูกขับออกทางไต
ยังไม่มีการประเมินความปลอดภัยและเภสัชจลนศาสตร์ในผู้ป่วยที่ตับเสื่อม
แนะนำให้ปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีคำ Creatinine clearance 10-30 มิลลิลิตร/นาที การปรับขนาดยาไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย (เช่น คำ Creatinine clearance น้อยกว่า 10 มิลลิลิตร /นาที) และผู้ป่วยที่ใด้รับการล้างไตโดยการฟอกเลือด (Hemodialysis) หรือการล้างไตโดยใส่สารล้างทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis)
หลังการจำหน่ายมีรายงานของการทำร้ายตนเองและการเพ้อในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ยาโอเซลทามิวียร์ (ส่วนใหญ่เกิดในประเทศญี่ปุ่น) มักพบรายงานในผู้ป่วยเด็ก ยังไม่ทราบว่ายาโอเซลทามิเวียร์ มีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้หรือไม่ ควรเฝ้าระวังถึงสัญญาณของพฤติกรรมผิดปกติในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตลอดการรักษาด้วยยาโอเซลทามิเวียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการรักษาสองสามวันแรก
ในยาเม็ด 1 เม็ด ประกอบด้วยฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir, INN : favipiravir) 200 มิลลิกรัม
เม็ดกลม นูน เคลือบฟิล์มสีเหลือง ด้านหนึ่งมีตัวอักษร "F" อีกด้านหนึ่งเรียบ
ฟาเวียร์มีข้อบ่งใช้สำหรับการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นสายพันธุ์ใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ผลหรือมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ
ฤทธิ์ต้านไวรัสในหลอดทดลอง : ฟาวิพิราเวียร์แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอ และ สายพันธุ์ บี ในห้องปฏิบัติการ ที่มีค่าความเข้มข้น ที่ให้ประสิทธิภาพ 50% (EC50) เท่ากับ 0.014-0.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
ค่า EC50 ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอ และ สายพันธุ์ บี ตามฤดูกาล รวมถึงสายพันธุ์ที่ดื้อต่อ adamantane (amantadine และ rimantadine) oseltamivir หรือ zanamivir เท่ากับ 0.03 - 0.94 และ 0.09-0.83 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ
ค่า EC50 ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (รวมถึงสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยา adamantane, oseitamivir หรือ zanamivi) เช่น ไข้หวัดหมูและไข้หวัดนก รวมถึงสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้สูง (รวมถึง เฮซ5เอ็น1 และ เฮช7เอ็น9) เท่ากับ 0.06-3.53 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
ค่า EC50 ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ และสายพันธุ์ บี ที่ดื้อต่อยา adamantane, oseltamivir หรือ zanamivir) เท่ากับ 0.09-0.47 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และไม่พบการดื้อข้ามสายพันธุ์
การดูดซึมยา : ตามตารางในเอกสารกำกับยาแสดงตัวแปรทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาฟาวิพิราเวียร์ หลังให้ยาในอาสาสมัครสุขภาพดี 8 ราย โดยการรับประทาน ในขนาด 1600 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 วัน แล้วลดขนาดยาเหลือ 600 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 วัน แล้วตามด้วย 600 มิลลิกรัม วันละหนึ่งครั้งอีก 1 วัน (1600 มิลลิกรัม/600 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง)
สามารถพบฟาวิพิราเวียร์ได้ในอสุจิ เมื่อใช้ยานี้ในผู้ป่วยเพศชายควรอธิบายถึงความเสี่ยง และแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ในการมีเพศสัมพันธ์ช่วงระหว่างที่ทำการรักษาและหลังสิ้นสุดการรักษาแล้ว 7 วัน (ผู้ชายต้องสวมถุงยางอนามัย) นอกจากนี้ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับหญิงตั้งครรภ์
ก่อนเริ่มรักษา ให้อธิบายถึงประสิทธิภาพ และความเสี่ยง (รวมถึงความเสี่ยงของการสัมผัสกับทารกในครรภ์) เป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัว และต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
ควรใช้ฟาวิพิราเวียร์ เท่าที่จำเป็น ด้วยความรอบคอบ
1. อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญทางคลินิกพฤติกรรมที่ผิดปกติ (ไม่ทราบความถี่อุบัติการณ์) : แม้ว่าจะไม่ทราบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ แต่พฤติกรรมที่ผิดปกติ (เช่น การวิ่งหนีไปอย่างกะทันหัน เดินเตร็ดเตร่) อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ สะดุดล้ม ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้
2. อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญทางคลินิก (จากยาที่คล้ายคลึงกัน) พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญทางคลินิกดังต่อไปนี้ จากการใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวอื่น ผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกลัชิด หากพบอาการผิดปกติใดๆ ควรหยุดการรักษาและให้การรักษาแก้ไขที่เหมาะสม
ภาวะช็อค. อะนาพัยแลคชิส
ปอดบวม
โรคตับอักเสบอย่างรุนแรงและรวดเร็ว, ตับทำงานผิดปกติ, ดีช่าน
การแพ้ยาทางผิวหนังอย่างรุนแรงแบบ Toxic epidermal necrolysis (TEN). oculomuco-cutaneous syndrome (Stevens-Johnson syndrome)
การบาดเจ็บของไตเฉียบพลัน
การลดลงของจำนวนเม็ดเลือดขาว, นิวโทรฟิล, เกล็ดเลือด
อาการทางระบบประสาทและจิตเวช (ความรู้สติถูกรบกวน, เพ้อ, หลอน, อาการหลงผิด, ซัก เป็นต้น)
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ มีเลือดออก
3. อาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ถ้ามีอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้น ควรให้การรักษาแก้ไขที่เหมาะสมตามอาการ
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 30/10/2023